เมนู

บทว่า อภเว แปลว่า ไม่เจริญ. บทว่า ตสฺส นุปฺปชฺชเต ความว่า มิตรปฏิรูป
ย่อมไม่เกิดสติขึ้นว่า เราจักให้แม้แก่มิตรของเราแต่ที่นี้. บทว่า นานุกมฺปติ
ความว่า ย่อมไม่คิดด้วยจิตอ่อนโยน. บทว่า ลเภยฺยิโต ความว่า เพื่อนพึง
ได้ลาภแต่ที่นี้. บทว่า อาการา ได้แก่ เหตุการณ์. บทว่า ปวุตฺถํ แปลว่า
ไปต่างถิ่น. บทว่า เกลายิโก ความว่า คนที่เป็นมิตร ย่อมรักใคร่ นับถือ
ว่าเป็นเพื่อนเรา เริ่มตั้งรักใคร่ปรารถนา. บทว่า วาจาย ความว่า เมื่อจะ
เปล่งถ้อยคำกะเพื่อนด้วยถ้อยคำอันไพเราะย่อมยินดี. คำที่เหลือพึงทราบโดยนัย
เป็นปฏิปักษ์ต่อคำที่กล่าวแล้วนั่นแล.
พระราชามีพระทัยชื่นชมถ้อยคำของพระมหาสัตว์ ได้พระราชทาน
ยศอันยิ่งใหญ่แก่พระมหาสัตว์แล้ว.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วตรัสว่า ดูก่อน
มหาบพิตร ปัญหานี้ได้ตั้งขึ้นแม้ในกาลก่อนอย่างนี้ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวถึง
ปัญหานี้ว่า คนที่มิใช่มิตร และคนที่เป็นมิตร จะพึงรู้ได้ด้วยอาการสามสิบสอง
เหล่านี้ แล้วทรงประชุมชาดกว่า พระราชาในกาลนั้น ได้มาเป็นพระ-
อานนท์ ส่วนอำมาตย์ผู้เป็นบัณฑิต ได้มาเป็นเราตถาคตแล.

จบอรรถกถามิตตามิตตชาดก
จบอรรถกถาทวาทสนิบาต ประดับด้วยชาดก 10 ชาดกในชาตกัฏฐกถา
ด้วยประการฉะนี้


รวมชาดกที่มีในทวาทสนิบาตนี้ คือ


1. จุลลกุณาลชาดก 2. ภัททสาลชาดก 3. สมุททวาณิชชาดก
4. กามชาดก 5. ชนสันธชาดก 6. มหากัณหชาดก 7. โกสิยชาดก
8. เมณฑกปัญหาชาดก 9. มหาปทุมชาดก 10. มิตตามิตตชาดก และ
อรรถกถา.

เตรสนิบาตชาดก



1. อัมพชาดก


ว่าด้วยมนต์เสื่อมเพราะลบหลู่ครูอาจารย์


[1725] ดูก่อนท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ แต่
ก่อนท่านได้นำเอาผลมะม่วงทั้งเล็กทั้งใหญ่มาให้เรา
ดูก่อนพราหมณ์ บัดนี้ ผลไม้ทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏ
ด้วยมนต์เหล่านั้นของท่านเลย.

[1726] ข้าพระบาทกำลังคำนวณคลองแห่ง
นักขัตฤกษ์ จนเห็นขณะและครู่ด้วยมนต์ก่อน ครั้น
ได้ฤกษ์และยามดีแล้ว จักนำผลมะม่วงเป็นอันมากมา
ถวายพระองค์เป็นแน่.

[1727] แต่ก่อน ท่านไม่ได้พูดถึงคลองแห่ง
นักขัตฤกษ์ ไม่ได้เอ่ยถึงขณะและครู่ ทันใดนั้น ท่าน
ก็นำเอาผลมะม่วงเป็นอันมากอันประกอบด้วยสีกลิ่น
และรสมาให้เราได้.

[1728] ดูก่อนพราหมณ์ แม้เมื่อก่อน ผลไม้
ทั้งหลายย่อมปรากฏด้วยการร่ายมนต์ของท่าน วันนี้
แม้ท่านจะร่ายมนต์ก็ไม่อาจให้สำเร็จได้ วันนี้สภาพ
ของท่านเป็นอย่างไร.